หลวงพ่อเงิน (ชุดไตรภาคี, เนื้อทองผสม), วัดหิรัญญาราม (วัดบางคลาน), จังหวัดพิจิตร
รุ่น: เมตตาบารมี ปี 2545
ผู้คนต่างยกย่องวัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน แห่งวัดบางคลานว่าเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณครบเครื่องทั้งด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง เมตตามหานิยม และที่ชัดเจนที่สุดคือด้าน "โชคลาภค้าขาย"
มีคำกล่าวกันในหมู่ผู้ที่ศรัทธาว่า “ใครมีพระหลวงพ่อเงิน จะเจริญรุ่งเรือง ไม่ฝืดเคืองขัดสน แม้ตกอยู่ในภาวะอันตราย จะแคล้วคลาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ และไม่สำคัญว่าพระเครื่องรุ่นนั้นจะทันท่านหรือไม่”
สิ่งที่เป็นเรื่องอัศจรรย์ก็คือ ความเข้มขลังในพระเครื่องหลวงพ่อเงินนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของเก่า แม้ที่เพิ่งสร้างใหม่ในนามของหลวงพ่อเงินล้วนแล้วแต่เอกอุไปด้วยพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่กระจายอยู่ทุกอนูของวัตถุมงคลมหามงคลนาม "หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ" โดยเฉพาะพระหลวงพ่อเงินที่สร้างในปีที่ลงท้ายด้วยเลข "5" ล้วนมีพลังอาถรรพณ์ก่อให้เกิดสิ่งอันเป็นมงคลแก่ผู้ครอบครองในทุกๆด้าน เชื่อกันว่าพลังดังกล่าวนั้นเกิดมาจากพลังบารมีของหลวงพ่อเงิน ที่แผ่กระจายครอบคลุมปกปักรักษาผู้ที่เคารพศรัทธาท่าน ให้ปลอดโรคปลอดภัย ปราศจากภยันอันตรายใดๆ ที่จะมากล้ำกราย
พระเครื่องที่หลวงพ่อเงินท่านสร้างและปลุกเสกจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็คือ รูปหล่อพิมพ์ นิยม, พิมพ์ขี้ตา, เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่-จอบเล็ก ซึ่งมีจุดกำเนิดในปี พ.ศ. 2460หรือเมื่อ 110 ปีที่แล้ว แต่พุทธคุณ เรื่อง คลาดแคล้วคงกระพัน ยังมีครบครันครบเครื่อง มีเรื่องให้อัศจรรย์ใจกันอยู่เสมอ
เชื่อกันว่าวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเงินสร้างนั้นมีอยู่หลายอย่าง มีทั้งเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อโลหะโดยเฉพาะ พระเนื้อโลหะที่หลวงพ่อเงินสร้างเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางของเก่าที่ทันยุคหลวงพ่อปรากฏว่าราคาเช่าหาองค์ละหลายแสนบาท สาเหตุที่ราคาแพงเป็นเพราะผู้ที่บูชาพระหลวงพ่อเงินติดตัวมักมีประสบการณ์ให้ประจักษ์แก่ตาตนเองมาทั้งนั้น
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นเมตตาบารมี ปี 45 เนื้อทองผสม 1 ชุด ประกอบด้วย รูปหล่อลอยองค์ เหรียญจอบใหญ่ เหรียญจอบเล็ก พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดบางคลาน วันที่ 3-4-5 ตุลาคม 2545 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 5 เช่นเดียวกับ หลวงพ่อเงิน ปี 15 ที่โด่งดังสุดๆ พระชุดนี้ตอกโค้ตเลขไทย ๔๕ ไว้ที่หลังองค์พระรูปหล่อ ส่วนเหรียญจอบใหญ่และจอบเล็กจะเป็นหลังยันต์นูน
การปลุกเสก:
พิธีบวงสรวงและอธิษฐานจิตปลุกเสก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2545 ต่อหน้ารูปหล่อองค์หลวงพ่อเงิน ณ วิหารวัดบางคลาน จ.พิจิตร โดยมีหลวงพ่อรวย ปาสาทิโก เป็นประธานจุดเทียนชัย พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนี้ อีก 8 รูป คือ
1. หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก เป็นประธานจุดเทียนชัย
2. พระเทพโมลี วัดราชผาติการาม
3. พระราชวิมลมุนี เจ้าคณะ จ.พิจิตร
4. หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ
5. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
6. หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
7. หลวงพ่อสฤษดิ์ เจ้าอาวาสวัดบางคลาน
8. พระครูโสภณกิตยาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ เจ้าคณะ 14 เป็นเจ้าพิธี
กำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษก:
พิธีมหาพุทธาภิเษก มณฑลพิธีอุโบสถวัดบางคลาน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 ถึง วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เสด็จเป็นประธานจุดเทียนชัย ในวันที่ 3และพระเทพโมลี วัดราชผาติการาม ดับเทียนชัย ในวันที่ 5 เป็นครั้งแรกในประวัติการสร้างพระหลวงพ่อเงินที่มีการประกอบพิธีถึง 3 วัน โดยสุดยอดพระเกจิ-อาจารย์แห่งสยามประเทศ 145 รูป ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก พระครูโสภณกิตยาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ เจ้าคณะ14 เป็นเจ้าพิธี
Luang Por Ngern (combo set, sacred brass), Wat Hirunyaram (Wat Bang Klan), Phichit Province.
Series: Metta Baramee (Compassion and Virtue), Year 2002.
The amulets of Luang Por Ngern from Wat Bang Klan are widely regarded as sacred objects with comprehensive powers. They are believed to provide invulnerability, protection from all dangers, charm, and above all, prosperity in business.
Among believers, there is a popular saying "Whoever possesses the amulet of Luang Por Ngern will prosper, never face hardship, and even in times of danger, will be miraculously protected. It does not matter whether the amulet was made during his lifetime or not."
The extraordinary aspect of Luang Por Ngern’s amulets is their inherent sacred power, which does not depend on their age. Even newly created amulets made in his name are infused with profound spiritual energy. In particular, amulets created in years ending in "5" are believed to carry mystical powers that bring blessings in all aspects of life to their owners. This power is said to stem from Luang Por Ngern’s immense merit, which extends protection and blessings to all his faithful believers, ensuring safety and freedom from harm.
The sacred amulets created and consecrated by Luang Por Ngern that have gained widespread popularity include the statue, Khita mold (the statue that has a small dot on the eyes), Big Spud coin, and Small Spud coin. These amulets were first produced in 1917 (B.E. 2460), over 110 years ago, and remain known for their invulnerability and protective qualities, continuously inspiring awe among believers.
It is believed that Luang Por Ngern created various sacred items made from different materials, including clay, powder, and metal. His metal amulets are particularly popular, and original-era pieces have become highly sought after, with prices reaching hundreds of thousands of baht. The high value is attributed to the countless testimonies of those who have personally experienced the power of these sacred objects.
Luang Por Ngern, Wat Bang Klan, Series: Metta Baramee Edition, (Compassion and Virtue), Year 2002. Sacred brass material, one set consists of the Statue, Big Spud coin, and Small Spud coin. The grand consecration ceremony was held at Wat Bang Klan from October 3-4-5, B.E. 2545 (2002), The statue is inscribed with the Thai numeral "๔๕" on the back Similar to the famous series that was made in the year B.E. 2515 (1972). Big Spud coins and Small Spud coins feature embossed yantras on the back.
Consecration Ceremony:
The blessing ceremony was conducted on Thursday, April 25, B.E. 2545 (2002), in front of a statue of Luang Por Ngern at the vihara of Wat Bang Klan, Phichit Province. The ritual was led by Luang Pho Ruay Pasathiko, who lit the ceremonial candle, accompanied by eight renowned monks of the era:
1. Luang Por Ruay Pasathiko (Candle-Lighting Master)
2. Phra Thep Molee, Wat Rajapathikaram
3. Phra Ratchawimolmuni, Ecclesiastical Governor of Phichit Province
4. Luang Por Thuam, Wat Sri Suwan
5. Luang Por Oon, Wat Talgong
6. Luang Pu Key, Wat Sri Lam Yong
7. Luang Por Sarit, Abbot of Wat Bang Klan
8. Phra Khru Sophonkitiyaporn, Assistant Abbot of Wat Suthat, Ecclesiastical Head of District 14.
Grand Consecration Ceremony:
The grand consecration ceremony was held at the ordination hall of Wat Bang Klan over three days, from October 3–5, 2002. Somdej Phra Buddhajarn (Kiew Uppaseno) presided over the ceremony by lighting the sacred candle on October 3, and Phra Thep Molee, Wat Rajapathikaram extinguished the candle on October 5. This was the first time in history that a consecration ceremony for Luang Por Ngern’s amulets spanned three days. The ceremony was attended by 145 of Thailand’s most esteemed monks, with Phra Khru Sophonkitiyaporn serving as the chief officiant.
This website uses cookies (Learn more) and has a privacy policy (Learn more).